ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดไทร
รหัสวัด
02750201001
ชื่อวัด
วัดไทร
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2023
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 15 เดือน สิงหาคม ปี 2502
ที่อยู่
วัดไทร
เลขที่
๑๒
หมู่ที่
๙
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล (ตำบลตามสำนักงานทะเบียนมหาดไทย)
กระดังงา
ตำบลคณะสงฆ์
-
เขต / อำเภอ
บางคนที
จังหวัด
สมุทรสงคราม
ไปรษณีย์
๗๕๑๒๐
เนื้อที่
25 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวา
Facebook
คลิกดู
มือถือ
๐๖๓-๙๖๘-๐๙๐๗
อีเมล์
watsai
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 363
ปรับปรุงล่าสุด : 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 19:27:47
ข้อมูลเมื่อ : 22 เมษายน พ.ศ. 2566 08:54:44
ประวัติความเป็นมา
ประวัติวัดไทร (โดยสังเขป)
วัดไทร เป็จนวัดโบราณเก่าแก่ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง จากสิ่งก่อนสร้างที่หลงเหลือตกทอดกันมา ทั้งที่ทรุดโรม รื้อถิน ปฏิสังขรณ์ใหม่และสร้างใหม่ ได้มีหลักฐานปรากฏอยู่ว่า สมัยโบราณเป็นวัดที่ใหญ่มากวัดหนึ่ง จากบันทึกเรื่องวัดในจังหวัดสมุททรสงคราม กล่าวว่าเป็นวัดร้างมาช้านาน จนกระทั้ง ขุนวิเศษฯ นายด่านมะขามเตี้ยพระเจดีย์ ๓ องค์ ด้านติดต่อกับประเทศพม่าได้มาปฏิสังขรณ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๓ วัดนี้จึงมีอายุมากกว่า ๕๐๐ ปี
นับตั้งแต่ขุนวิเศษฯ ได้ปฏิสังขรณ์วัดไว้ทำให้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ไม่ปรากฏว่ามีเจ้าอาวาสรูปใดได้ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ คงอาศัยบอกบุญต่อทายกทายิกา ขอกำลังทรัพย์แลพให้พระลูกวัดช่วยกันซ่อมแซมกันเอง โดยมีพระศักดิ์ ฐิตธมฺโม เป็นหัวแรงสำคัญ จนกระทั้งท่านพระอธิการนวล มรณภาพ
หลังจาดที่พระอธิการนวลมรณภาพแล้วเจ้าอาวาสรูปต่อๆ มาได้ดำเนินตามท่าน ได้ปฏิสังขรณ์และสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ สำเร็จไว้หลายอย่าง ตั้งแต่อุโบสถ วิหาร หอสวดมนต์ หอฉัน ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ โรงควง (โรงที่มีเครื่องตีหนังสือใบลาน เพื่อที่จะได้จารหนังสือได้สะดวก) โรงจาร (โรงเขียนหนังสือ) ตลอดจนโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา (ปัจจุบันโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาไม่มีแล้ว) สนี่เป็นภาพพจน์ของวัดไทรในอดีตถือได้ว่าเป็นวัดที่เจริญมากวัดหนึ่งในยุคนั้น
วัตถุโบราณของวัด จากบันทึกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ระบุไว้ว่าสิ่งของบางอย่างได้ชำรุดผุพังไปตามสภาพความเก่าแก่ และมีโจรผู้ร้ายเข้ามาเจาะทำลาย เพื่อหาสมบัติ และได้ขโมยพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ไปหลายองค์ ทางวัดก็ได้มีการรื้อถอนอุโบสถเก่าแบบมหาอุด ก่อสร้างด้วยอิฐโบราณ หลังคามุงกระเบื้องราง หลังโบสถ์มีช่องลมรูปกากบาดเจาะลึกเข้าไปในกำแพง
เจดีย์โบราณ ๘ องค์ คู่มากับอุโบสถ ด้านหน้าอุโบสถ ๔ องค์ และด้านหลังอุโบสถอีก ๔ องค์ หน้าอุโบสถมีพระปรางค์สมัยอยุทธยาอยู่ ๑ องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางวัด อายุประมาณ ๓๐๐ ปี เหลือแต่ฐานล่างมีต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นบนฐานปกคลุมอยู่ พระประธานในอุโบสถเก่า ๒ องค์ ปรางค์สมาธิหันหลังติดกัน องค์ให้หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ตามแบบพระพุทธประธานทั่วๆไป องคืเล็กหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้าย-ขาว ๔ องค์ มีพระปรางค์สมาธิแวดล้อมอยูอีก ๑๗ องค์ รวมทั้งสิ้น ๒๓ องค์ เป็นพระแกะสลักจากศิลาแลงทั้งสิ้น ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงพระแวดล้อม ๔ องค์ สันนิษฐานว่า เดิมวัดนี้อาจใช้ชื่อ "วัดไซ" เพราะมีป้ายชื่อวัดเก่าอยู่ที่วัด
ปัจุบัน
ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๒๔ ไร่ ๒ งาน ๗๙ ตารางวา
อาณาเขตวัด ทิศเหนือ ยาว ๔ เส้น ๑๐ วา ติดกับธรณีสงฆ์ของวัดไทร
ทิศใต้ ยาว ๔ เส้น ๑๐ วา ติดกับสวนเอกชน ๒ ราย
ทิศตะวันออก ยาว ๔ เส้นเศษ ติดกับธรณีสงฆ์ของวัดไทร
ทิศตะวันตก ยาว ๔ เส้นเศษ ติดกับคลองบางน้อย
อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย
- อุโบสถ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๔๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ อาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก
- หอสวดมนต์ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ อาคารไม้
- กุฏิสงฆ์ กว้าง๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ อาคารไม้
- วิหารสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๔๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ อาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก
- ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๔๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- วิหารพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ อาคารไม้
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมทรงไทย กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ อาคารไม้
- ห้องน้ำ ห้องสุขา ๖ ห้อง กว้าง ๒ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
อาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้
- ฌาปนสถาน จำนวน ๑ หลัง
- หอระฆัง จำนวน ๑ หลัง
- หอกลอง จำนวน ๑ หลัง
- โรงครัว จำนวน ๑ หลัง
ปูชนียวัตถุ มีดังนี้
- พระประธานปนะจำอุโบสถ ปางสมาธิ องค์ใหญ่และองค์เล็ก พระพุทธศิลาแลง
ขนาดหน้าตัก กว้าง ๓ ศอก สูง ๓ ศอก ๑ คืบ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒ ศอก สูง ๒ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
- พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย
ขนาดหน้าตัก กว้าง ๔๐ นิ้ว สูง ๔๐ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕
- ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร
ลำดับเจ้าอาวาส
ลำดับที่ ๑ พระอุปัชฌาย์ปาน ไม่ทราบ พ.ศ.
ลำดับที่ ๒ พระอธิการช่วง ไม่ทราบ พ.ศ.
ลำดับที่ ๓ พระอธิการอิน ไม่ทราบ พ.ศ.
ลำดับที่ ๔ พระอุปัชฌาย์พุ่ม ปญฺญาโชโต ไม่ทราบ พ.ศ.
ลำดับที่ ๕ พระอุปัชฌาย์จั่น ไม่ทราบ พ.ศ.
ลำดับที่ ๖ พระอุปัชฌาย์รอด ขนฺธสีโล ไม่ทราบ พ.ศ.
ลำดับที่ ๗ พระอุปัชฌาย์ตัด (คงทอง) ไม่ทราบ พ.ศ.
ลำดับที่ ๘ พระอุปัชฌาอ่วม ติสฺสรสฺส มรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
ลำดับที่ ๙ พระอธิการนวล ธมฺมโชโต พ.ศ. ๒๔๕๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๔
ลำดับที่ ๑๐ พระครูพิชิตสมุทรการ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง ๒๕๒๓
ลำดับที่ ๑๑ พระครูวิมลสมุทรวัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ ถึง ๒๕๓๑
ลำดับที่ ๑๒ พระครูสมุทรสิทธิวัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔ ถึง ๒๕๖๓
ลำดับที่ ๑๓ พระสมุห์ธนพงษ์ กิตฺติวํโส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึง ปัจจุบัน
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
ทรัพย์สินของวัด
โครงการและกิจกรรมเด่น
บรรยายธรรม ผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่า
ข้อมูลเมื่อ : 25-02-2567
ภัตตาหารพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลเมื่อ : 23-05-2566
โครงการ "ชูธรรมนำชีวิต" ครั้งที่ ๖/๒๕๖๖ ณ วัดไทร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ข้อมูลเมื่อ : 13-05-2566