สมาชิกเข้าสู่ระบบ
ฐานข้อมูลวัด จ.ราชบุรี (435)
ฐานข้อมูลวัด จ.เพชรบุรี (248)
ฐานข้อมูลวัด จ.สมุทรสงคราม (103)
ฐานข้อมูลวัด จ.ประจวบคีรีขันธ์ (222)

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดหลวง

รหัสวัด
02700602002

ชื่อวัด
วัดหลวง

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2224

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2234

ที่อยู่
บ้านวัดหลวง

เลขที่
1

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
บางแพ-ดำเนินสะดวก

แขวง / ตำบล (ตำบลตามสำนักงานทะเบียนมหาดไทย)
วังเย็น

ตำบลคณะสงฆ์
-

เขต / อำเภอ
บางแพ

จังหวัด
ราชบุรี

ไปรษณีย์
70160

เนื้อที่
23 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา

Line
min0817365100

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0817365100

โทรศัพท์
0817365100

อีเมล์
watloung@hotmail.com

จำนวนเข้าดู : 176

ปรับปรุงล่าสุด : 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 13:40:14

ข้อมูลเมื่อ : 22 เมษายน พ.ศ. 2566 14:12:06

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติของวัดหลวง
***************
๑. ชื่อ
    วัดหลวง  เลขที่   ๑   หมู่ที่  ๓   ตำบลวังเย็น   อำเภอบางแพ   จังหวัดราชบุรี  รหัสไปรษณีย์  ๗๐๑๖๐  โทรศัพท์  ๐๘-๑๗๓๖-๕๑๐๐
 
๒. ที่ตั้ง และอุปจารของวัด
                 วัดหลวง  ตั้งอยู่ในหมู่บ้านวัดหลวง (บ้านอีจาง)  ตำบลวังเย็น (เดิมเป็นตำบล อีจาง) อำเภอบางแพ  จังหวัดราชบุรี  
    * ด้านทิศเหนือติดทางสาธารณะ และคลองวังเย็น(คลองตาคต) 
    * ด้านทิศใต้ติดถนนสายบางแพ-ดำเนินสะดวก 
    * ด้านทิศตะวันออกติดคลองวังเย็น(คลองตาคต) และทางสาธารณะ 
    * ทิศตะวันตกติดทางสาธารณะ-ถนนสายบางแพ-ดำเนินสะดวก 
       วัดอยู่ห่างจาก ถนนเพชรเกษม ไปทางอำเภอดำเนินสะดวก  ๑ กิโลเมตรเศษ ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอบางแพ ประมาณ ๓ กิโลเมตร และตั้งอยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร ประมาณ  ๘๐  กิโลเมตรเศษ ไปทางสายกรุงเทพ-นครปฐม-ราชบุรี  
 
๓. ประวัติความเป็นมาของวัด
     วัดหลวงเป็นวัดโบราณ  สร้างในราวสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎตาม เอกสารของกรมการศาสนา ว่า ตั้งวัดเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๒๒๔ และได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๔ แต่ไม่ปรากฎว่าผู้ใดเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง
ทั้งในอดีต และปัจจุบันเป็นสถานที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่หลายประเภท เช่น ตะเคียนทอง ยางนา  ประดู่  สัก กรรณิกา อินทร์จันทน์ เป็นต้น โดยเฉพาะ ต้นอินทร์จันทน์ใหญ่ที่สุด จำนวน ๒ ต้น วัดเส้นรอบวงของต้นใหญ่ได้ประมาณคนใหญ่ ที่สมบูรณ์  ๑๒ คนโอบ ส่วนต้นรอง ลงมาประมาณ  ๙  คนโอบ ปลูกอยู่ขนาบอุโบสถ ด้านทิศใต้ ๑ ต้น ด้านทิศเหนือ ๑ ต้น
     ประวัติความเป็นมาของวัดหลวงนั้น  ได้รวบรวมจัดทำอย่างจริงจังเมื่อคราว ที่คณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันจัดงานฉลองตราตั้งพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท และตราตั้งพระอุปัชฌาย์ ถวายแด่พระครูศีลวิสุทธาภรณ์ (แคล้ว  ปิยสีโล) เจ้าอาวาสวัดหลวง เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม  ๒๕๒๕ โดยมี ว่าที่ร้อยตรีสุภักดิ์  อนุกูล  ศึกษานิเทศก์ ๕ เขตการศึกษา๕ กรมสามัญศึกษา เป็นผู้สัมภาษณ์ บุคคลที่เป็นที่ เคารพนับถือของชาวตำบลวังเย็นจำนวน หลายท่าน คือ 
๑. คุนลุงกิม  หอมทิพย์ อายุ  ๗๙  ปี   
คุณลุงหลาบ  อินทะเกตุ อายุ  ๖๘  ปี  
๓. คุณตาเพชร   ภู่ระหงษ์  อายุ  ๗๙ ปี  
คุณลุงแฉะ    อาจปักษา  อายุ  ๘๕  ปี  
๕. คุณสงัด    สินบัว      
๖. คุณป้าคำ  ชูเลิศ  อายุ  ๘๔  ปี    
๗. กำนันทวี      ภู่ระหงษ์     
๘. ผู้ใหญ่หมง    เภาประเสริฐ    
๙. ผู้ใหญ่รินทร์  ภูมรินทร์  เป็นต้น  
     พอจะสรุปเป็น ประวัติได้ดังนี้
     เขาเล่าเป็นตำนานสืบ ๆ กันมาว่า มีเจ้านายองค์หนึ่งพร้อมภรรยาหลวง ได้เดินทาง โดยทางเรือมาพักแรมที่บริเวณวัดหลวงปัจจุบัน  ด้วยความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ภรรยา หลวงได้สร้างอุโบสถขึ้นหนึ่งหลัง ภรรยาน้อยทราบเรื่อง ก็มาร่วมฉลอง และร่วมกุศลด้วย จึงขุดสระขึ้นบริเวณด้านหลังอุโบสถเพื่อเก็บกัก น้ำไว้ใช้ พร้อมกับปลูกบัวหลวงไว้ในสระน้ำ เพื่อเก็บดอกบัวมาบูชาไหว้พระต่อไป

๔. สิ่งที่เป็นหลักสำคัญในวัด
    ๑. อุโบสถ สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๒๒๔  เป็นศิลปสมัยอยุธยาที่เรียกว่า “โบสถ์มหาอุต” เนื่องจากลักษณ์อุโบสถจะให้แสงสว่างเข้าภายในได้ก็เฉพาะทาง ประตูด้านหน้าเท่านั้น ไม่มีประตูด้านหลัง ไม่มีหน้าต่างโดยรอบ เสา และผนังอุโบสถ ก่อด้วยอิฐแดง ถือปูน มีระเบียงโดยรอบ ใบเสมารอบอุโบสถเป็นใบเสมาคู่ ทำด้วยหินทรายสีแดง ด้านนอกรายรอมด้วยกำแพงแก้ว ๒ ชั้น ก่อด้วย อิฐแดง ก้อนโต ขนาด ๑๔ x ๒๙ x ๖ ซ.ม.  ภายในกำแพงแก้วโดยรอบ จะมีเจดีย์ศีลป อยุธยา ทรงระฆังคว่ำ ทางด้านเหนือ และด้านใต้ของอุโบสถ มีต้นอินทร์จันทน์ ขนาดใหญ่ขนาด ๑๒.๓๖ เมตร และขนาด ๑๐.๕๐ เมตร ขนาบทั้งสองข้าง ด้านหน้าอุโบสถ มีเสาหงส์คู่ประดับอยู่  ในอุโบสถเดิมมีภาพจิตรกรรมสวยงามมาก  ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๘ อุโบสถได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ ทั้งหลัง พระอธิการพุ่ม เจ้าอาวาส ในขณะนั้น โดยการเจาะประตู่ด้านหลัง และหน้าต่างโดยรอบ กระเทาะผิวปูน ทั้งหมด ออกแล้วฉาบปูนใหม่ ทำให้ภาพจิตรกรรม ฝาผนังได้สูญหายไปในครั้งนั้น
   ๒. พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองขนาดหน้าตัก  ๒ เมตร  ปางสดุ้งมาร หรือมารวิชัย มีพุทธลักษณ์งดงามมาก โดยรอบฐานบุษบก มีพระพุทธรูป รายรอบ ทำด้วยหินทรายสีแดง ปัจจุบันพระพุทธรูปโดยรอบได้ถูกขโมย ลักตัดเศียรบ้าง ลักไปทั้งองค์บ้าง  แต่ได้รับการตกแต่งให้คงสภาพเดิมแล้ว ส่วนพระประธาน ยังคงสภาพสมบูรณ์
   ๓. สระน้ำ ขนาด ๒๐ x ๒๐ วา ลึก ๑๐  ศอก ด้านหลังอุโบสถ ขุดขึ้นเพื่อ นำดินมาปั้นอิฐ เพื่อใช้ซ่อมแซมอุโบสถ ในปี พ.ศ. พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๘ นั้น  ปัจจุบันได้ถูกถมใช้เป็นที่ ก่อสร้างหอประชุมของโรงเรียนวัดหลวงแล้ว
   ๔. พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางประทับยืนอุ้มบาตร ๒ องค์  เป็นพระพุทธรูป เนื้อสัมฤทธิ์ พุทธลักษณ์คล้ายหลวงพ่อบ้านแหลม องค์ใหญ่ สูง ๑.๒๖ เมตร องค์รองสูง ๐.๙๐ เมตร (ประวัติเล่า ต่อ ๆ กันมาว่าลอยน้ำคู่กันมาขึ้นที่ท่าน้ำ วัดหลวง) บริเวณคลองตาคต ซึ้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด ปัจจุบัน คลองดังกล่าวยังคงปรากฎอยู่แต่มิได้ใช้เป็นทางสัญญจรแล้ว ประชาชนชาววัดหลวง และใกล้เคียงจะทำพิธีแห่ให้ประชาชนสักการะบูชา และสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันสงกรานต์ และทุกวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี จะมีพิธีแห่ทางเรือ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นแห่งทางบกโดยดัดแปลงเรือที่ใช้แห่ติดล้อรถยนต์ให้ประชาชนช่วยกัน ชักลาก พร้อมทั้งจัดให้มี เฉลิมฉลองด้วยการเล่นต่าง ๆ มีแข่งเรือทางน้ำ และเรือบก  ต่อมาชาวบ้านบางแพได้ขอองค์รอง ไปประดิษฐานที่วัดบางแพใต้  เมื่อกว่าร้อยปีที่ ผ่านมา หลังจากนั้นชาวบ้านวัดหลวงได้ พร้อมใจกันจัดสร้างรูปจำลองด้วยไม้จันทน์ มีพุทธลักษณะ เหมือนกับองค์รองลงรักปิดทอง แทนขึ้นมา(ปัจจุบันถูกจรกรรมไปแล้ว และ ทางวัดได้จัดสร้างจำลองขึ้นมาทดแทนแล้ว)
๕. ประเพณีสำคัญของวัดหลวง
ประเพณีสำคัญที่ชาวบ้านวัดหลวง ยังคงถือปฏิบัติสืบทอดจากบรรพบุรุษ มีอยู่ดังนี้ คือ
      ๑. ประเพณีทำบุญในวันธรรมัสสวนะ(วันพระ) ตลอดทั้งปี มีประชาชนร่วมทำ บุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทุกวันพระประมาณ ๑๒๐-๒๐๐ คน
    ๒. ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายในวันสงกรานต์ ซึ่งมีลักษณะเด่นกว่าที่อื่นคือ ชาวบ้านจะร่วมกันบริจาคทราย และช่วยกันก่อเป็นเจดีย์ทรายขนาดใหญ่ขึ้น จำนวน ๕ กอง แล้วจะประดับยอดเจดีย์ด้วยไม้กลึงเป็นยอดเจดีย์ ซึ่งปัจจุบันหน้าจะมีอายุ หลายร้อยปี และประดับองค์เจดีย์ด้วยธงกระดาษที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือของตนเอง หลายรูปแบบ หลายขนาด โดยจะถือเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปีเป็นวันประเพณี ก่อพระเจดีย์ทรายดังกล่าว
     ๓. ประเพณีแห่หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ปางประทับยืนอุ้มบาตร ๒ พี่น้อง ซึ่งชาว บ้านวัดหลวงให้ความศรัทธาเคารพ และถือว่าเป็นพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อยู่คู่กับวัดหลวง มานานหลายร้อยปี ในอดีตจะแห่หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ทางน้ำโดยคลองที่อยู่บริเวณ หน้าวัด แด่ปัจจุบันได้ดัดแปลงเรือเป็นเรือแห่ทางบก ชาวบ้านจะช่วยกันชักจูงเรือ กันด้วยความสามัคคี โดยถือเอาวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี เป็นมงคล ซึ่งจะมีประชาชนชาวบ้านวัดหลวง และใกล้เคียง เข้าร่วมแห่เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้ง ทำเรือบกสวยงามเข้าร่วมขบวนแห่งทุกปี
 
๖. ลำดับเจ้าอาวาส
     ประวัติตอนแรก ๆ ของวัดไม่มีใครรู้ แต่พอลำดับในระยะหลัง ๆ ได้ดังนี้
     ๑. หลวงพ่อใจ เป็นชาวอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม มาเป็น เจ้าอาวาสวัดหลวง จนมรณภาพ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘
     ๒. หลวงพ่อเฉื่อย  ภุมรินทร์  เป็นเจ้าอาวาสต่อถึงปี ๒๔๕๙ ได้ลาสิกขาบท
     ๓. หลวงพ่อลิต อรชร
     ๔. พระอธิการผึ่ง สุทธิกาญจน์  (ลาสิกขา)
     ๕. พระอธิการพุ่ม รุ่งสว่าง (ลาสิกขา)
     ๖. พระอธิการคลึง รุ่งสว่าง (ลาสิกขา)
     ๗. พระสมุห์สมควร ใจตรึก เป็นเจ้าอาวาส  อยู่จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๐ และ ลาสิกขา
    ๘. พระครูศีลวิสุทธาภรณ์ (แคล้ว  ปิยสีโล  คอนเมฆ)  เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดหลวง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวง
         ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ถึง ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ (มรณภาพ)
     ๙. พระครูสุธีธรรมวงศ์ (โกมินทร์ กวิวํโส ป.ธ.๖)  นามสกุล เภาประเสริฐ ได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าอวาสวัดหลวง เมื่อวันที่  ๒ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : หนังสือรับรองสภาพวัด (229.18 kb)

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูสุธีธรรมวงศ์ (โกมินทร์) กฺวิวํโส

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 20-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 22-05-2566

พระจำเนียร กลฺยาณธโร

ข้อมูลเมื่อ : 20-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 22-05-2566

พระเจนณรงค์

ข้อมูลเมื่อ : 20-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 22-05-2566

พระอดิศักดิ์ ภทฺทธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 20-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 22-05-2566

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ศาลาการเปรียญ

ข้อมูลเมื่อ : 22-05-2566

เปิดดู 65 ครั้ง

วิหารหลวงพ่อศัก...

ข้อมูลเมื่อ : 20-05-2566

เปิดดู 60 ครั้ง

อุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 20-05-2566

เปิดดู 67 ครั้ง

หอระฆัง

ข้อมูลเมื่อ : 20-05-2566

เปิดดู 52 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ประเพณีสงกรานต์...

ประเภทไฟล์ : jpg

ข้อมูลเมื่อ : 20-05-2566

เปิดดู 154 ครั้ง

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

แผนปฏิบัติงานประจำปีของวัด

รายงานผลปฏิบัติงานประจำปีของวัด

ยังไม่มีข้อมูลรายงานผลปฏิบัติงานประจำปี

รายงานกิจกรรม อปต.

ยังไม่มีข้อมูลรายงานกิจกรรม อปต.

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด