สมาชิกเข้าสู่ระบบ
ฐานข้อมูลวัด จ.ราชบุรี (435)
ฐานข้อมูลวัด จ.เพชรบุรี (248)
ฐานข้อมูลวัด จ.สมุทรสงคราม (103)
ฐานข้อมูลวัด จ.ประจวบคีรีขันธ์ (222)

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดบางลาน

รหัสวัด
02700708002

ชื่อวัด
วัดบางลาน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2360

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 17 เดือน ธันวาคม ปี 2470

ที่อยู่
วัดบางลาน

เลขที่
57

หมู่ที่
2

ซอย
บางลาน

ถนน
เพชรเกษม

แขวง / ตำบล (ตำบลตามสำนักงานทะเบียนมหาดไทย)
ดอนทราย

ตำบลคณะสงฆ์
-

เขต / อำเภอ
โพธาราม

จังหวัด
ราชบุรี

ไปรษณีย์
70120

เนื้อที่
33 ไร่ 1 งาน - ตารางวา

Line
0814917281

มือถือ
0814917281

อีเมล์
phrapalad1972@gmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นหอพระไตรปิฎก

จำนวนเข้าดู : 967

ปรับปรุงล่าสุด : 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 18:02:45

ข้อมูลเมื่อ : 22 เมษายน พ.ศ. 2566 13:54:10

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

 ประวัติวัดบางลาน
          วัดบางลาน รหัสวัด ๐๒๗๐๐๗๐๘๐๐๒ ชื่อเดิม วัดพระไทย  ตั้งอยู่เลขที่ ๕๗ หมู่ที่ ๒ ตำบลดอนทราย  อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี  ตำบล(คณะสงฆ์)  ดอนทราย สังกัดคณะสงฆ์  มหานิกาย  มีประวัติการตั้งวัด  ดังนี้  การตั้งวัด  เป็นวัดที่ตั้งขึ้นประมาณปี  พ.ศ. ๒๓๖๐ ก่อนที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช  ๒๔๘๔  มีผลบังคับใช้  โดยได้รับ  วิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่ ๑๗ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง  ๒ เส้น  ยาว ๓ เส้น

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและวัด
           จาการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า เดิมชื่อว่า  สำนักสงฆ์พระไทย  เพราะมีพระจำพรรษาอยู่  ๒ รูป และต่อมาชาวบ้านเรียกว่าวัดพระไทย  และเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดใหม่”  เพราะสร้างทีหลังวัดอื่นๆ  และมีเหตุการณ์เล่าขานในเวลาต่อมาว่า ในวันหนึ่งมีชาวบ้านมาทำบุญที่วัดและนำหลานมาด้วย แต่มองไม่เห็นหลานของตนเอง ทั้งๆที่หลานก็ยืนอยู่ข้างๆ  ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดบังหลาน พูดกันต่อมา จนภาษาเปลี่ยนไปเป็น “วัดบางลาน” และหมู่บ้านที่วัดตั้งอยู่ก็เรียกว่า  “บ้านบางลาน”แต่อีกสำนวนหนึ่งกล่าวว่าในอดีตหมู่บ้านนี้มี ต้นลาน (พืชสกุลปาล์ม) ขึ้นอยู่เยอะมาก จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านบางลาน” วัดที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้ จึงเรียกว่า   “วัดบางลาน”
          ลักษณะภูมิประเทศและอาณาเขตที่ตั้งวัดลักษณะภูมิประเทศของที่ตั้งวัดและหมู่บ้านโดยรอบ เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนส่วนมากจะประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม การตั้งวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน

อาณาเขตที่ตั้งวัด
          ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๓๓ ไร่ ๑ งาน โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็น โฉนดเลขที่ ๑๔๕๖๗ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัดบางลานมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ       จดทางสาธารณประโยชน์
ทิศใต้           จดที่ดินเลขที่  ๕๔  ๕อ.๗น.  และทางสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก  จดที่ดินเลขที่  ๕๗  ๕อ.๗น. เลขที่ ๕๘  ๕อ.๗น. เลขที่  ๕๙ ๕อ.๗น.
ทิศตะวันตก    จดทางสาธารณประโยชน์

การคมนาคม
ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอโพธารามถึงวัด  ระยะทาง  ๑๒  กิโลเมตร
ระยะทางจากศาลากลางจังหวัดราชบุรีถึงวัด  ระยะทาง  ๑๓  กิโลเมตร
          การเดินทางจากอำเภอโพธารามใช้เส้นทางหลวงสาย ๓๕๒๖ และทางหลวงสาย ๔ (เพชรเกษม) เข้าจังหวัดราชบุรี ระยะทางประมาณ ๑๒  กิโลเมตรจะถึงทางแยกเข้าวัด หรือจากจังหวัดราชบุรีใช้ทางหลวงนสาย ๔ (เพชรเกษม) ไปกรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตรจะถึงทางแยกเข้าวัด จากทางแยกเข้าวัดระยะทาง ๖๐๐  เมตร ถึงวัดบางลาน สภาพเส้นทางเป็นถนนคอนกรีตและแอสฟัลท์คอนกรีต เดินทางได้ตลอดปี

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย
อุโบสถ กว้าง ๖.๘๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕
                    ( ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก       (
) อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
                    ( ) อาคารไม้                              (  ) อื่นๆ -
ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙
                    ( ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก       (
)อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                    ( ) อาคารไม้                               ( ) อื่นๆ -
หอสวดมนต์ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐
                    ( ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก      (
) อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                    ( )อาคารไม้                               ( ) อื่นๆ -
กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง กว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐
                    ( ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก       (
) อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                    ( ) อาคารไม้                               ( ) อื่นๆ - จำนวน - หลัง
วิหาร กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๔๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๐
                    ( ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก       (
) อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                    ( ) อาคารไม้                               ( ) อื่นๆ -
ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔
                    ( ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก       (
)อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                    ( ) อาคารไม้                              ( ) อื่นๆ -
ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง ๒๓ เมตร ยาว ๓๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
                    (
 ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก    ( ) อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                    ( ) อาคารไม้                              ( ) อื่นๆ –
หอพระไตรปิฎก กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐
                   ( ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก       (
) อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                   ( ) อาคารไม้                              ( ) อื่นๆ –
โรงเรียนพระปริยัติธรรม กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓
                   ( ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก       (
) อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                   ( ) อาคารไม้                               ( ) อื่นๆ –
ศาลาโรงครัว ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว  ๓๙  เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙
                   (  ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก       (
) อาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
                   ( ) อาคารไม้                                ( ) อื่นๆ –
 

นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้
หอระฆัง                     จำนวน  ๑ หลัง           
หอกลอง                    จำนวน  ๑ หลัง 
เรือนเก็บพัสดุ              จำนวน  ๑ หลัง
เรือนรับรอง                 จำนวน  ๑ หลัง 
อื่นๆ –


การบริหารและการปกครอง
- มีเจ้าอาวาสมาแล้ว ๑๐ รูป ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
ลำดับที่   ๑   หลวงพ่อไทย   ธีรปญฺโญ      ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๐ ถึง พ.ศ. ๒๓๙๑
ลำดับที่   ๒  หลวงพ่อพระไทย  ธมฺมสโร   ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๑
ลำดับที่   ๓  พระอธิการแจ้ง  จรณธมฺโม    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๔
ลำดับที่   ๔  พระอธิการ ทิม  ทีปธมฺโม  (หงษ์เวียงจันทร์ )  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๓
ลำดับที่   ๕  พระอธิการมาตย์  มนฺตาคโม (พุ่มบุญฑริก) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๕
ลำดับที่   ๖  พระอธิการพรม  รตนโชโต    (เล่นวารี)
 ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๘
ลำดับที่   ๗  พระครูโพธิสาทร ( เฟื้อ  อินทสโร ) (อินฑมาตย์)
  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๙
ลำดับที่   ๘  พระครูอาทรรัตนกิจ  ( เม็ด  สจฺจาสโภ ) (เงินโสภา) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๕
ลำดับที่   ๙  พระครูสารธรรมประสิทธิ์ ( เทียม  กตสาโร ) (จูเมฆา) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๘
ลำดับที่ ๑๐  พระครูปลัดประเทือง  ชวนปญฺโญ
 (แก่นศึกษา)  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึง ปัจจุบัน

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : โฉนดที่ตั้งวัด (652.89 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : ใบวิสุงคามสีมา (899.91 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : หนังสือรับรองสภาพวัด (387.17 kb)

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูปลัดประเทือง ชวนปญฺโญ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 15-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 04-06-2566

พระครูวินัยธรดิเรก เตชวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 17-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-06-2566

พระวิเชียร สุเมโธ

ข้อมูลเมื่อ : 17-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 22-05-2566

พระสมพงษ์ สมจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 17-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 22-05-2566

พระบรรเจิด จิรสุโภ

ข้อมูลเมื่อ : 17-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-06-2566

พระนฤพล ชนาสโภ

ข้อมูลเมื่อ : 17-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 28-05-2566

พระจารุเดช จารุวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 30-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 09-06-2566

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

กุฎิสงฆ์

ข้อมูลเมื่อ : 15-05-2566

เปิดดู 142 ครั้ง

ศาลาการเปรียญ

ข้อมูลเมื่อ : 15-05-2566

เปิดดู 195 ครั้ง

อุโบสถวัดบางลาน

ข้อมูลเมื่อ : 08-05-2566

เปิดดู 135 ครั้ง

หอพระไตรปิฎก

ข้อมูลเมื่อ : 15-05-2566

เปิดดู 86 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

แผนปฏิบัติงานประจำปีของวัด

ยังไม่มีข้อมูลแผนปฏิบัติงานประจำปี

รายงานผลปฏิบัติงานประจำปีของวัด

ยังไม่มีข้อมูลรายงานผลปฏิบัติงานประจำปี

รายงานกิจกรรม อปต.

ยังไม่มีข้อมูลรายงานกิจกรรม อปต.

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด