สมาชิกเข้าสู่ระบบ
ฐานข้อมูลวัด จ.ราชบุรี (435)
ฐานข้อมูลวัด จ.เพชรบุรี (248)
ฐานข้อมูลวัด จ.สมุทรสงคราม (103)
ฐานข้อมูลวัด จ.ประจวบคีรีขันธ์ (224)

ข้อมูลทั่วไป

QR Code ทุ่งหลวง

รหัสวัด
02700801001

ชื่อวัด
ทุ่งหลวง

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2323

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 24 เดือน มิถุนายน ปี 2522

ที่อยู่
วัดทุ่งหลวง

เลขที่
232

หมู่ที่
2

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล (ตำบลตามสำนักงานทะเบียนมหาดไทย)
ทุ่งหลวง

ตำบลคณะสงฆ์
-

เขต / อำเภอ
ปากท่อ

จังหวัด
ราชบุรี

ไปรษณีย์
70140

เนื้อที่
32 ไร่ - งาน - ตารางวา

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0870408752

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดประชารัฐสร้างสุข
เป็นสำนักปฏิบัติธรรม
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

จำนวนเข้าดู : 209

ปรับปรุงล่าสุด : 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 15:00:25

ข้อมูลเมื่อ : 22 เมษายน พ.ศ. 2566 13:49:20

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดทุ่งหลวง
               รหัสวัด 02700801001 ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งหลวง(หนองข่อย)  เลขที่  ๒๓๒  หมู่ที่  ๒                      ถนนแยกห้วยชินสี – ทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
โทรศัพท์ ๐๘๗-๐๔๐-๘๗๕๒
สังกัดคณะสงฆ์  มหานิกาย                 
ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๓๒ ไร่ - งาน - ตารางวา
               โฉนดที่ดิน เลขที่ ๘๖๙๙
อาณาเขต    ทิศเหนือ                       จด ที่ดินเอกชน
               ทิศใต้                           จด ทางสาธารณะประโยชน์
               ทิศตะวันออก                  จด ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๓๓๗
               ทิศตะวันตก                    จด ทางหลวงชนบท หมายเลข ๔๐๐๒
ที่ธรณีสงฆ์  จำนวน ๒ แปลง  มีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ - งาน ๖๔ ตารางวา
               โฉนดที่ดิน เลขที่  ๗๒๖๙ , ๓๙๘๒๒
               อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย
อุโบสถ            กว้าง ๑๐ เมตร   ยาว ๒๔ เมตร  อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก          สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙
ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔ เมตร   ยาว ๓๐ เมตร  อาคารไม้                             สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙
หอสวดมนต์      ---
กุฏิสงฆ์ ๒ ชั้น   จำนวน ๑ หลัง กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๔๘ เมตร อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ                         พ.ศ. ๒๕๓๕
วิหาร             ---
ศาลาหอฉัน      กว้าง ๑๕ เมตร   ยาว ๓๐ เมตร  อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก          สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗
ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง ๒๔ เมตร   ยาว ๓๖ เมตร  อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้                สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐
               นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้
ฌาปนสถาน จำนวน ๑ หลัง  / หอระฆัง       จำนวน ๑ หลัง  / หอกลอง    จำนวน ๑ หลัง 
โรงครัว       จำนวน ๓ หลัง / เรือนเก็บพัสดุ จำนวน ๑ หลัง  / เรือนรับรอง จำนวน ๑ หลัง 
ห้องน้ำ ห้องสุขา จำนวน ๕ หลัง  ๕๐ ห้อง / กุฏิชี จำนวน ๑ หลัง
ปูชนียวัตถุ มี - พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย
                   ขนาดหน้าตัก กว้าง ๔๙ นิ้ว/เมตร  สูง ๖๙ นิ้ว/เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙
               - พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางนาคปรก
ขนาดหน้าตัก กว้าง ๕๙ นิ้ว/เมตร  สูง ๗๙ นิ้ว/เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗
ปูชนียวัตถุอื่นๆ   พระสีวลี ขนาดหน้าตัก สูง ๒.๕๐ เมตร  
                   พระพุทธมหามงคลชัย     ขนาดหน้าตัก กว้าง ๔๙ นิ้ว  สูง ๖๙ นิ้ว
                   พระพุทธชินราช จำลอง  ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒๙ นิ้ว  สูง ๓๙ นิ้ว
                   พระพุทธชินราช จำลอง  ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑๙ นิ้ว  สูง ๒๙ นิ้ว
                   หลวงพ่ออู่ทอง หน้าตัก ๒๙ นิ้ว
                   รูปหล่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรมรังสี ขนาดเท่าองค์จริง
                   รูปหล่อ พระครูสิริวุฒิกร (ปลิว สิริปทุโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งหลวง ขนาดเท่าองค์จริง
                   รูปหล่อ หลวงพ่อคง จนฺทโชโต ขนาดเท่าองค์จริง
 
ประวัติวัด (โดยสังเขป)
               วัดทุ่งหลวง ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2323
                 นับถอยหลังไปประมาณ ๑๕0 ปีเศษ สมัยนั้นผู้คนไม่ได้มาตั้งถิ่นฐานให้เป็นหลักแหล่ง ซึ่งสถานที่เหล่านี้เป็นป่าดง  มีต้นไม้ใหญ่ๆ มากมายและมีสัตว์ป่าอยู่มาก  เช่นช้าง เสือ กวาง เก้ง ฯลฯ และมีทุ่งอยู่ทุ่งหนึ่งคล้ายบึงไม่มีต้นไม้นับระยะชายทุ่งติดวัดทุ่งหลวง (ปัจจุบัน) ไปด้านทิศตะวันตกกว้างประมาณกิโลเศษ ความยาวระยะทุ่งในสมัยนั้นนับตั้งแต่ติดชายบ้านไปทางทิศเหนือประมาณ ๒ กิโลเศษ ไม่มีต้นไม้มีแต่ต้นอ้อ  ต้นแขมขึ้นเต็มทุ่ง และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่กลางทุ่งเป็นช่วงๆคือไม้จิก และมีหนองน้ำอยู่ชายติดด้านหน้าเท่าทุกวันนี้อีกสองหนองคือหนองข่อย และอีกหนองหนึ่งนั้นอยู่ห่างจากหนองข่อยนี้ขึ้นไปทางทิศตะวันตกเป็นหนองน้ำใหญ่ ถึงฤดูแล้งนำไม่แห้งมีปลาชุกชุม หนองนี้ชาวบ้านเรียกว่า “หนองปากต้าง”หรือหนองตาแพ          ในปัจจุบันนี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหนองปากทาง และยังมีหนองน้ำอีกหนองหนึ่งอยู่ชายทุ่งเป็นหนองน้ำเล็กๆ มีต้นสะแกขึ้นอยู่รอบๆ มีต้นมะขามใหญ่อยู่ต้นหนึ่งมีโพรงเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นอยู่เท่าทุกวันนี้อยู่ริมหนองน้ำมีต้นตาลอยู่สองต้นซึ่งสูงกว่าต้นไม้อื่นๆที่อยู่บริเวณนั้น เมื่อขึ้นภูเขาดูจะเห็นว่าต้นตาลสองต้นนี้สูงกว่าไม้อื่นทั้งหมด ตอนสร้างพระอุโบสถหลังเก่ายังเป็นภาพให้เห็นอยู่หน้าพระอุโบสถ แต่มาระยะหลังนี้ต้นตาลสองต้นถูกทำลายลง และที่น่าสังเกตุยังมีภูเขาอีกลูกหนึ่งเรียกว่า”เขาน้อยชมดง”หรือภาษาลาวเหนือเรียกว่า   “เขาน้อยจมดง”คือที่ตั้งวัดเกตุปัญญาประชาสรรค์ในปัจจุบันนี้เอง และยังมีภูเขาอีกลูกหนึ่งมีลักษณ์เป็นเนินสูงอยู่กลางดง ปัจจุบันเป็นไร่นาหมดแล้ว เขาลูกนี้เรียกตามภาษาไทยว่า “เขาน้อยจมดง” ภาษาลาวเรียกว่า      “เขาน้อยจ๋มดง” สันนิฐานแล้วว่าน่าจะเป็นที่เดียวกันเพราะภาษาถิ่นนั้นทำไห้การเรียกชื่อต่างๆนั้นเพี้ยนไป ภูเขาลูกนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไกลจากเขาน้อยชมดงไปประมาณกิโลเมตรเศษ ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถสันนิฐานได้ว่าชนกลุ่มใดมาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อน  แต่สันนิฐานเอาจากสำเนียงและภาษาที่เรียกชื่อหนองปากต้าง คำว่า”ต้าง”หมายถึง”ทางน้ำไหล”หรือถ้าแปลตามสภาพ คือ หนองน้ำปากทาง ซึ่งจะไหลไปสู่ลำห้วยอีกลำห้วยหนึ่ง  แต่ว่าบุคคลกลุ่มใดจะมาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนนั้นไม่แน่ชัด  แต่คนสมัยก่อนนี้ชอบออกเที่ยวป่าล่าสัตว์  บางคนก็พากันไล่ฝูงวัวมาเลี้ยงค้างป่าเป็นแรมเดือนในฤดูแล้ง   ถึงในฤดูฝนก็ต้อนวัวกลับไปทำไร่ทำนา        พอบุคคลเหล่านี้เห็นความสะดวกประกอบกับ มีพรรคพวกเพื่อนฝูง ก็เลยตั้งถิ่นฐานหาที่ทำกินให้เป็นหลักแหล่ง ส่วนใหญ่จะมาอาศัยอยู่ข้างหนองน้ำปากต้าง  พวกนี้เรียกว่า หมู่บ้านตะวันตก พวกที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า           บ้านกลาง พวกที่ตั้งอยู่ริมหนองข่อย ก็เรียกว่าหมูบ้านหนองข่อย จนถึงทุกวันนี้ พวกนี้เมื่อตั้งเป็นหลักแหล่งดีแล้วผู้คนจึงหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ จึงคิดสร้างวัด เลยสร้างขึ้นตรงสถานีอนามัยที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันเพราะยังมีต้นโพธิ์แสดงให้เห็นเป็นหลักฐาน อยู่ที่นั้นไม่เหมาะสมจึงย้ายวัดมาตั้งที่ต้นโพธิ์ ซึ่งอยู่ในที่ของโยมปาน โยมละ ทับคง เท่าทุกวันนี้  พระสงฆ์จะเดินทางไปทำสังฆกรรมที่หนองข่อยไม่สะดวกสบาย จึงย้ายวัดอีกมาตั้งที่หนองตาลสองต้น จนเป็นหลักแหล่งดีแล้วจึงจัดสร้างพระอุโบสถเพื่อทำสังฆกรรม จึงได้เรียกวัดว่า “วัดหนองตาล”  เพราะมีต้นตาลแสดงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ ชื่อวัดสมัยก่อนไม่เข้มงวดเหมือนสมัยนี้ ฉะนั้นผู้คนจึงรู้จักวัดหนองตาลได้ดีมาก เลยเรียกหมู่บ้านนี้ว่าหมู่บ้านหนองตาล พอเริ่มแบ่งเขตการปกครองก็เริ่มแบ่งเป็นหมู่บ้าน                   มีหัวหน้าปกครอง ทางการเห็นว่าสถานที่นี้ห่างไกลจากตัวอำเภอมาก ก็ยกฐานะหมู่บ้านหนองตาลให้เป็นตำบลเรียกว่า “ตำบลทุ่งหลวง” หมายถึงทุ่งที่กว้างใหญ่ไพศาลนั่นเอง  ส่วนชื่อวัดหนองตาลก็เลยเปลี่ยนมาเป็นวัดทุ่งหลวงไปตามชื่อของตำบล  เพราะเดิมที่หมู่บ้านหนองตาลนี้รวมกันที่เดียวเป็นหมู่บ้านใหญ่  หมู่บ้านอื่นๆยังไม่มีวัด มีเพียงวัดเดียวเท่านั้นคือวัดทุ่งหลวงเป็นวัดดั้งเดิมมาตั้งแต่แรก และสมัยนั้นมีเจ้าอาวาสรูปหนึ่งมีคนรู้จักชื่อเสียงดีเคารพนับถือมากกว่าคนรุ่นราวคราวเดียวกัน คือ ท่านอาจารย์พัด (ไม่ทราบฉายา)  ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ  หลวงพ่อโห้  วัดนาหนองสมัยนั้น ท่านดุมากและต่อจากนั้นมาก็ยังมีสมภารอีกหลายรูป  ได้มรณภาพบ้าง     ลาสิกขาบ้าง  จนถึงองค์ปัจจุบัน  มีนามเดิมว่าปลิว นามสกุล บัวดี ท่านได้รับพระราชทินนามตามใบสัญญาพัดยศว่า พระครูสิริวุฒิกร  เป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งหลวง วัดทุ่งหลวง ส่วนเรื่องพัฒนาวัดตั้งแต่มาอยู่เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕  บวชได้ ๓ พรรษา พรรษาที่ ๕ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งหลวง  ส่วนการพัฒนาสร้างวัดที่ยังเห็นปรากฏอยู่ก็คือสิ่งปลูกสร้างหลายอย่าง ขณะนี้ท่านได้วางโครงการและทำการพัฒนาให้ดี  เพื่อเป็นที่พึ่งพาของชาวบ้านที่มีศาสนาสืบไป (คัดจัดเรียงจากความจำของท่านผู้เฒ่าตั้งแต่อายุ  ๗0 ปี หลายๆคนที่เล่าสู่กันฟัง)
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา   เมื่อวันที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2522
เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร
 
 
               การศึกษา
               - มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม               เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔
               - มีศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด                    เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙
               การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
               - มีสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด (สธจ.) แห่งที่ ๒๕ แต่งตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑
               ได้รับการจัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ ๒๕ ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่  ๒๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่  ๑๐  เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
               - มีหน่วยอบรมประจำตำบล (อ.ป.ต.) แต่งตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
               ได้รับรางวัล (ประกาศนียบัตร/ประกาศเกียรติคุณ/โล่ ฯลฯ อาทิ สวนสมุนไพรในวัด อุทยานการศึกษาในวัด วัดพัฒนาตัวอย่าง วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น เป็นต้น)
พ.ศ.๒๕๖๐ ได้รับรางวัลชมเชย การขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ต้นแบบดีเด่น ของจังหวัดราชบุรี
พ.ศ.๒๕๖๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ ระดับจังหวัด โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์  โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” จังหวัดราชบุรี
พ.ศ.๒๕๖๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ระดับภาค  โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข (สร้างสัปปายะสู่วัดด้วยวิถี ๕ส) จังหวัดราชบุรี ภาค ๑๕
การบริหารและการปกครอง
-  ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้         
-  รูปที่  ๑  พระครูสิริวุฒิกร (ปลิว สิริปทุโม)                     พ.ศ.๒๔๙๗ – ๒๕๓๙
-  รูปที่  ๒  พระครูปลัดสมพงษ์ อิสฺสรญาโณ                      พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๙   
รูปที่  ๓  พระครูภาวนาวุฒิคุณ (เสน่ห์ มหทฺธโน)              พ.ศ.๒๕๕๐ – ปัจจุบัน     

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (634.1 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : (597.88 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : (167.77 kb)

รายการพระ

พระครูภาวนาวุฒิคุณ มหทฺธโน

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 05-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 11-06-2566

พระครูสังฆรักษ์บัญชา โชติวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 26-05-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 26-05-2566

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

แผนปฏิบัติงานประจำปีของวัด

ยังไม่มีข้อมูลแผนปฏิบัติงานประจำปี

รายงานผลปฏิบัติงานประจำปีของวัด

ยังไม่มีข้อมูลรายงานผลปฏิบัติงานประจำปี

รายงานกิจกรรม อปต.

ยังไม่มีข้อมูลรายงานกิจกรรม อปต.

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด