ข้อมูลทั่วไป
QR Code กุยบุรี
รหัสวัด
05770201004
ชื่อวัด
กุยบุรี
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
-
วันรับวิสุงคามสีมา
-
ที่อยู่
-
เลขที่
401
หมู่ที่
1
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล (ตำบลตามสำนักงานทะเบียนมหาดไทย)
กุยบุรี
ตำบลคณะสงฆ์
กุยบุรี
เขต / อำเภอ
กุยบุรี
จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
ไปรษณีย์
77150
เนื้อที่
55 ไร่ - งาน - ตารางวา
Facebook
คลิกดู
โทรศัพท์
032681566
อีเมล์
Watkuiburi50@gmail.com
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 237
ปรับปรุงล่าสุด : 21 กันยายน พ.ศ. 2567 15:07:05
ข้อมูลเมื่อ : 22 เมษายน พ.ศ. 2566 10:32:01
ประวัติความเป็นมา
วัดกุยบุรี เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล เดิมชื่อว่า “วัดกุย” ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๔๐๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ติดกับแม่น้ำกุยบุรีฝั่งซ้าย และอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของถนนเพชรเกษม อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกุยบุรีประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ มีถนนหน้าวัดซึ่งเทคอนกรีตตัดสู่ถนนเพชรเกษม ๘๐ เมตร มีหลักฐานที่ดินของวัดตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๑๒ เล่มที่ ๗ หน้า ๑๒ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชาชนชอบเรียกกันสั้นๆ ว่า วัดกุย เป็นที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกุยบุรีในปัจจุบัน จากการสอบถามผู้สูงอายุบางท่าน ได้กล่าวถึงวัดกุยบุรีไว้ว่า บริเวณที่ตั้งวัดกุยบุรี นี้เดิมมีอยู่ ๒ วัด คือ วัดกวยตั้งอยู่ทางทิศเหนือ และวัดกุยบุรีตั้งอยู่ทางทิศใต้ อาณาเขตของวัดทั้งสองจะอยู่ติดกัน ระยะต่อมาซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า วัดทั้ง ๒ ได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน และเรียกกันว่าวัดกุยบุรี บริเวณวัดกวยปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประถมศึกษาวัดกุยบุรี ส่วนอุโบสถและวิหารของวัดกวยถูกลื้อทำลายจนหมด โบราณวัตถุของวัดกวยที่ยังหลงเหลืออยู่ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัยทำจากทรายสีแดง (ทรายแลง) ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดกุยบุรี แต่ได้มีการฉาบผิวปูน และลงรักปิดทองคำจนไม่สามารถเห็นเค้าเดิม นอกจากนี้ ชาวเมืองกุยบุรียังมีความเชื่อเกี่ยวกับบริเวณที่ตั้งของวัดกวย ก่อนที่จะมารวมกับวัดกุยโดยกล่าวกันว่าบริเวณหน้าวัดกวยมีบ่อน้ำทิพย์อยู่บ่อหนึ่ง เมื่อปีใดฝนแล้ง ชาวเมืองกุยบุรีจะไปขุดบ่อน้ำทิพย์ดังกล่าว และหากขุดพบขอนไม้สีดำอยู่ก้นบ่อเมื่อใด ฝนก็จะตกลงมา ความแห้งแล้งก็จะหมดไปในที่สุด ความเชื่อของชาวเมืองกุยบุรีที่มีต่อวัดกวย และวัดกุยดังกล่าวข้างต้น แม้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม แต่ก็สามารถชี้ให้เห็นถึงความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อวัดได้อย่างชัดเจน และวัดทั้ง ๒ ชาวกุยบุรีเรียกว่าวัดพี่น้องมาแต่โบราณ วัดกวยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัดกุยเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด นอกจากบอกเล่าสืบต่อกันมา และประวัติความเป็นมาของวัดกุย และวัดกวย ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้างก็ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารระบุไว้เลย ในการศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดกุยบุรี จึงใช้วิธีเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นๆ กล่าวคือ ๑. ศึกษาเปรียบเทียบประวัติเมืองกุยบุรี เพราะว่าชุมชนในสมัยโบราณมักจะมีประเพณี หรือมีคตินิยมสร้างวัดขึ้นเป็นศูนย์กลางของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ระดับเมือง ดังนั้น วัดกุยบุรีซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนเมืองกุยบุรีจนถึงปัจจุบัน ก็น่าจะสร้างขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนา หรือการสร้างเมืองกุยบุรี ๒. ศึกษารูปแบบศิลปกรรมจากโบราณวัตถุ และโบราณสถานภายในวัด
การบริหารปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม(ตามที่สอบถามจากผู้อาวุโส) คือ
๑. พระอาจารย์บู๋ พ.ศ. –
๒. พระอาจารย์เต็ม พ.ศ. –
๓. พระอาจารย์วาด พ.ศ. ๒๔๖๗
๔. พระอาจารย์จันทร์ พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๘๒
๕. พระอาจารย์สอน พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๕
๖. พระอาจารย์ชุ่ม พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖
๗. พระครูสุนทรวรญาณ (ทองสุข) พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๕๐๕
๘. พระมหากรด ธมฺมธโร ปธ.๕ พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๐๘
๙. พระย้อย พรหมสโร พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๐๙
๑๐. พระครูสุทธาจารคุณ (เกตุ) พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๔
๑๑. พระถาวร ฐานวโร พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๕
๑๒. พระครูประยุติวรกิจ (สนิท โพธิ์ ปธ.๔)พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๔๒
๑๓. พระอาจารย์ทรัพย์ กตปุญฺโญ พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๔ (รักษาการเจ้าอาวาส)
๑๔. พระราชรัตนวิสุทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระราชรัตนวิสุทธิ์ เขมนนฺโท
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 15-07-2566
ปรับปรุงล่าสุด : 21-09-2567